เมนู

บัญญัติ เหล่านี้แล ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ยังไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูก
ทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่คัดค้านแล้ว.
[137] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาว
วัสสโคตรภัญญโคตรทั้งสองนั้น ล้วนพูดว่าไม่มีเหตุ บุญบาปที่ทำไปแล้ว
ไม่เป็นอันทำ ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ก็ได้สำคัญวิถีทาง 3 ประการนี้
คือ หลักภาษา การตั้งชื่อ และข้อบัญญัติว่า ไม่ควรติ ไม่ควรคัดค้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะกลัวถูกนินทา กลัวกระทบกระทั่ง
กลัวใส่โทษ และกลัวจะต่อความยาว.
จบ นิรุตติปถสูตรที่ 10
จบ อุปายวรรคที่ 1

อรรถกถานิรุตติปถสูตรที่ 10



ในนิรุตติปถสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ภาษานั่นแหละ ชื่อว่า ทางภาษา อีกอย่างหนึ่ง ภาษานั้น ๆ ด้วย
ชื่อว่า ปถะ เพราะเป็นทางแห่งเนื้อความที่พึงรู้แจ้งด้วยอำนาจภาษาด้วย
เหตุนั้นจึงชื่อว่า นิรุตติปถะ. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. อนึ่ง
บททั้งสามเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.
บทว่า อสงฺกิณฺณา ความว่า ไม่ถูกทอดทิ้ง คือไม่ถูกกล่าวว่า จะเป็น
ประโยชน์อะไรด้วยทางเหล่านี้ แล้วทิ้งเสีย. บทว่า อสงฺกิณฺณปุพฺพา
ความว่า ไม่เคยถูกทอดทิ้งแม้ในอดีต. บทว่า น สงฺกิยนฺติ ความว่า
แม้ในบัดนี้ก็ไม่ถูกทอดทิ้งว่า ประโยชน์อะไรด้วยทางเหล่านี้. บทว่า
น สงฺกิยิสฺสนฺติ ความว่า แม้ในอนาคตก็จักไม่ถูกทอดทิ้ง. บทว่า
อปฺปฏิกุฏฺฐา ได้แก่ไม่ห้ามแล้ว. บทว่า อตีตํ ได้แก่ก้าวล่วงสภาวะของตน